ศาลหลักเมือง |
เดิมเป็นเสาไม้ ยาวประมาณ 1 เมตรเศษ ปลายเสา แกะสลักเป็นรูปดอกบัวตั้งอยู่บริเวณกำแพงเมืองเก่า ปัจจุบันคือบริเวณ บ้านพักผู้ช่วยที่ดินจังหวัดและศูนย์บริการ สาธารณสุขเทศบาล ประมาณ พ.ศ. 2453 ทางราชการเห็นว่า ศาลหลักเมืองเดิมชำรุดมากจึงได้ย้าย หลักเมืองไปประดิษฐานที่ตึกแดงในโรงเรียนสตรีประจำจังหวัด คือ โรงเรียน ศรีนครนายก ภายหลังได้ย้ายมาสร้างใหม่ ณ สถานที่ปัจจุบันโดยสร้าง เป็นศาลาจตุรมุข เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวเมืองจนถึงทุกวันนี้ |
หลวงพ่อเศียรนคร |
ประดิษฐานอยู่ ณ วัดบุญนาค รักขิตาราม (วัดต่ำ)ตำบลนครนายก เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่เลื่อมใสศรัทธาของ ชาวจังหวัดนครนายก สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูป สมัยพระร่วง ขุดพบเมื่อ พ.ศ. 2495 บริเวณโรงกลั่นสุราจังหวัดนครนายก ซึ่งตั้งอยู่ใกล้วัดนางหงษ์ ตำบลท่าช้าง โดยขุดพบแต่เศียรไม่มีองค์ และได้นำไปไว้ที่โรงเรียนนายก พิทยา (ปัจจุบันยุบไปแล้ว) ต่อมานำไปประดิษฐานที่วัดบุญนาครักขิตาราม มาในปี พ.ศ. 2511 นางผล รอดอุไร มีศรัทธาสร้างองค์พระและโบสถ์ถวาย และถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า หลวงพ่อ เศียรนคร ตั้งแต่นั้น เป็นต้นมา
|
รอยพระพุทธบาทจำลองเขานางบวช |
อยู่ในมณฑปบนยอดเขา นางบวชตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลสาริกาห่างจาก ตัวจังหวัดประมาณ 9 กิโลเมตร เขานางบวช สูงประมาณ 100 เมตร ทางขึ้นมีบันไดคอนกรีตจากเชิงเขาถึง มณฑป 227 ขั้น รอยพระพุทธบาทนี้สร้างไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2401 แรม 8 ค่ำ เดือน 12 ปีระกา มีงานเทศกาลนมัสการรอยพระพุทธบาทในกลาง เดือน 5 ของทุกปี |
แหล่งโบราณคดีบ้านดงละคร หรือเมืองดงละคร |
ตั้งอยู่ที่ตำบล ดงละคร ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศใต้ ประมาณ 9 กิโลเมตร แต่เดิมเรียก กันว่า เมืองลับแล เป็นสถานที่ตั้งเมือง โบราณสมัยขอมมีอำนาจมีแนว กำแพงเป็นเนินดินและคูเมือง ปรากฏอยู่ ชาวบ้านเรียกกันว่า สันคูเมือง เป็นกำแพงเมืองสองชั้น และมีคูน้ำล้อมรอบ ซึ่งเป็นแบบเมืองทวารวดีทางภาค กลางของไทย ความรุ่งเรืองที่เด่นชัดแบ่งเป็นสองช่วง ช่วงแรกเริ่มพุทธ ศตวรรษที่ 14-16 เป็นวัฒนธรรมแบบทวารวดี ช่วงที่สองราวพุทธศตวรรษ ที่ 17-19 เป็นวัฒนธรรมเขมร และวัฒนธรรมก่อนอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 19 ชาวบ้านดงละคร คงจะอพยพไปตั้งถิ่นฐานตามลำน้ำสายหลักในจังหวัด นครนายก สันนิษฐานว่าน่าจะมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับเมืองศรีมโหสถ เมืองทั้งสองอยู่ห่างกัน 55 กิโลเมตร โบราณวัตถุที่ค้นพบ เช่น เศียรพระพุทธรูป กะไหล่ทองขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย ตราประทับหัวแหวนรูปปู รูปช้าง แหวน สำริด ลูกปัดแก้ว ลูกปัดหิน ตุ้มหูสำริด สำหรับตำนานเมืองลับแลนั้นเล่ากันว่า เมืองนี้เคยเป็นเมืองของราชินี ขอมซึ่งเป็นที่รโหฐานผู้อื่นไม่สามารถเข้าออกได้ง่ายนัก ประกอบกับลักษณะ ของบริเวณเมืองมีต้นไม้สูงขึ้นอยู่ทั่วไปใครเข้าไปแล้ว อาจหาทางออกไม่ได้ จะต้องวนเวียนอยู่ในดงนั้นเอง และในวันโกนวันพระ วันดีคืนดี จะได้ยินเสียง กระจับปี่ สีซอ ปี่พาทย์ มโหรีขับกล่อมคล้าย ๆ กับมีการเล่นละครในวัง ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า ดงละคร หรืออีกนัยหนึ่งคำว่า ดงละคร นั้นอาจ เพี้ยนมาจากดงนคร กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนที่นี่เป็นโบราณ สถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478
|
อนุสรณ์สถานกองพลทหารญี่ปุ่นที่ 37 |
อยู่ที่วัดพรหมณี ตำบลสาริกา ประมาณกิโลเมตรที่ 5 ทางไปน้ำตกสาริกา-นางรอง สมัย สงครามมหาเอเชียบูรพา พ.ศ. 2482-2488 กองพลทหาร ญี่ปุ่นที่ 37 เคยมาตั้งทัพอยู่ที่วัดนี้ สมาคมทหารสหายสงคราม กองพลญี่ปุ่น ที่ 37 จึงสร้างอนุสรณ์สถานขึ้นที่นี่ เมื่อปี พ.ศ. 2535 เพื่อเป็นที่ระลึกถึงดวงวิญญาณ ของบรรดาทหารสังกัดกองพลญี่ปุ่นที่ 37 จำนวน 7,920 นาย ซึ่งเสียชีวิต ในระหว่างสงคราม โดยนำอัฐิที่ฝังอยู่ในบริเวณวัดมาบรรจุในแท่นที่จัดสร้างขึ้น นอกจากนี้ภายในโบสถ์วัดพราหมมณียังมีพระพุทธรูปเก่าแก่ทรงเครื่อง ดอกพิกุล พระโอษฐ์แดง เล่ากันว่าชาวลาวอพยพได้อัญเชิญมาเมื่อสมัย เวียงจันทน์แตก เรียกกันว่า พระพุทธรูปปากแดง ปกติโบสถ์ไม่เปิดแต่หาก ประสงค์จะชมติดต่อขออนุญาตได้ที่เจ้าอาวาส
|
น้ำตกสาริกา |
ตั้งอยู่ที่ตำบลสาริกา ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศ ตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ สายน้ำไหลตกจากหน้าผาเป็นทอดๆ สูงถึง 9 ชั้น ผาที่สูงที่สุดสูงประมาณ 200 เมตร แต่ละชั้นมีอ่างรับน้ำมีน้ำมากในฤดูฝนส่วนฤดูแล้งน้ำจะแห้ง บริเวณด้านล่างของน้ำตกมีบริการร้านอาหาร และร้านจำหน่ายของที่ระลึก สินค้าพื้นเมือง เช่น ไม้กวาด ดอกไม้ที่ทำจากไม้โสนป่า ฯลฯ การเดินทาง สะดวกมากไปตามทางหลวงหมายเลข 3049 เป็นระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร แยกซ้ายเข้าทางหลวง 3050 อีกประมาณ 3 กิโลเมตร ในบริเวณใกล้เคียงกันมี ถ้ำสาริกา อาจารย์มั่น ภูริฑตฺโต เคยมา บำเพ็ญศาสนธรรมที่นี่ระหว่าง พ.ศ. 2460-2463 สภาพเป็นเนินเขา ภายในบริเวณประกอบด้วยกุฏิของสงฆ์และชี เรือนบูชาหลวงปู่มั่น และโบสถ์ ซึ่งอยู่ตอนสุดทางเดินเท้าขึ้นเขา
|
น้ำตกลานรักหรือน้ำตกตาดหินกอง |
ตั้งอยู่ในตำบลพรหมณี ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปน้ำตกสาริกาและน้ำตกนางรอง โดยแยกซ้ายที่ สี่แยกประชาเกษม ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 8 (ไปทางเดียวกับอ่างเก็บน้ำ ทรายทอง) และเดินทางต่อด้วยถนนลูกรัง อีกประมาณ 5 กิโลเมตรก็จะถึง บริเวณตัวน้ำตกซึ่งเกิดจากสายธารเล็กๆ ไหลผ่านลานหินในช่วงสุดท้าย ไหลพุ่งเป็นทางยาวผ่านลานหินที่กว้างเลียบตรงเชิงเขาเตี้ย ๆ อย่างสวยงาม และแปลกไปจากน้ำตกแห่งอื่นๆ มีน้ำเฉพาะในฤดูฝน |
อ่างเก็บน้ำห้วยปรือ |
ตั้งอยู่ที่ตำบลเขาพระ แยกซ้ายมือจากถนน ไปน้ำตกสาริกา-นางรอง ตรงหลักกิโลเมตรที่ 1 ไปตามถนนเขาทุเรียน ระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก แต่มีผิวน้ำกว้าง มีน้ำตลอดปีมีถนนดินรอบอ่าง ภูมิประเทศโดยรอบยังมีความงามตามธรรมชาติ ททท.กำลังสนับสนุนให้การพัฒนาให้ป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับพักผ่อน หย่อนใจของประชาชนและใช้เป็นศูนย์กีฬาทางน้ำของจังหวัดเนื่องจาก มีศักยภาพในการเล่นเรือกรรเชียง เรือแคนูน้ำเรียบ เรือใบ และวินด์เซริฟ ในบางฤดู
|
อ่างเก็บน้ำทรายทอง |
ตั้งอยู่ที่ตำบลเขาพระ ไปทางเดียวกับอ่างเก็บน้ำ ห้วยปรือเลยมาอีก 4 กิโลเมตร เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กภูมิประเทศเป็น ภูเขาคงความสวยงามตามธรรมชาติ เหนืออ่างเก็บน้ำ ขึ้นไปประมาณ 2 กิโลเมตร มีน้ำตกชื่อ น้ำตกทรายทอง เป็นน้ำตกขนาดเล็กแต่มีน้ำ เกือบตลอดปีต้องเดินเท้าเข้าไปจากอ่างเก็บน้ำใช้ เวลาประมาณ 30 นาที |
วังตะไคร้ |
ตั้งอยู่ที่ตำบลหินตั้ง ใกล้กับน้ำตกนางรอง อยู่ห่างจาก ตัวเมืองประมาณ 16 กิโลเมตร เป็นของกรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิ์พินิจ และหม่อมราชวงศ์หญิงพันธุ์ทิพย์บริพัตร เป็นอุทยานที่ได้รัการตกแต่งด้วย พันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับนานาพันธุ์ ในเนื้อที่ 1,500 ไร่ มีถนนให้นำรถยนต์ เข้าชมในบริเวณได้ เปิดรับนักท่องเที่ยวทั่วไปทั้งประเภทเช้าไปเย็นกลับ และประเภทค้างแรม โดยคิดค่าผ่านประตูดังนี้ - รถบัส 500 บาท - รถตู้, ปิคอัพ (ไม่เกิน 10 คน) 100 บาท - รถยนต์ส่วนบุคคล (ไม่เกิน 5 คน) 50 บาท - บุคคล 5 บาท
|
น้ำตกนางรอง |
ตั้งอยู่ที่ตำบลหินตั้ง ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวัน ออกเฉียงเหนือประมาณ 20 กิโลเมตร น้ำตกนางรองอยู่ในเขตอุทยาน แห่งชาติเขาใหญ่เป็นน้ำตกขนาดกลางที่ไหลลดหลั่น ลงมาเป็นชั้นๆไม่สูงนัก มีความสวยงามเป็นธรรมชาติ การจัดบริเวณ เป็นระเบียบสะอาดตา และมีบ้านพักบริการ การเดินทาง ไปตาม ทางหลวงหมายเลข 3049 การเข้าชมน้ำตกนางรองนักท่องเที่ยวจะต้องเสียค่าบำรุง สถานที่ดังนี้ รถยนต์โดยสาร (รวมบุคคล) 100 บาท รถยนต์เล็ก (รวมบุคคล) 50 บาท รถตู้ 100 บาท รถจักรยานยนต์ 10 บาท บุคคล 3 บาท
|